(ย้ายแล้วจ้า ไปอยู่ที่)
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

(ย้ายแล้วจ้า ไปอยู่ที่)

ประกาศย้ายเวบบอร์ดไปอยู่ที่ http://www.abhakara.com
 
บ้านบ้าน  Latest imagesLatest images  ค้นหาค้นหา  สมัครสมาชิก(Register)สมัครสมาชิก(Register)  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)  

 

 เครื่องดนตรีไทย ประเภท เครื่องดนตรีไทยพื้นเมือง

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
d@eng navy22
Moderator
Moderator



จำนวนข้อความ : 221
Registration date : 30/07/2008

เครื่องดนตรีไทย ประเภท เครื่องดนตรีไทยพื้นเมือง Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: เครื่องดนตรีไทย ประเภท เครื่องดนตรีไทยพื้นเมือง   เครื่องดนตรีไทย ประเภท เครื่องดนตรีไทยพื้นเมือง Icon_minitimeThu Aug 28 2008, 22:15

เครื่องดนตรีไทย ประเภท เครื่องดนตรีไทยพื้นเมือง

เครื่องดนตรีไทยพื้นเมือง หมายถึง เครื่องดนตรีที่ใช้เล่นกันเพื่อความบันเทิง หรือเล่นประกอบ การแสดงพื้นเมือง ตามท้องถิ่นต่าง ๆ เครื่องดนตรีพื้นเมือง จะมีลักษณะแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค ทั้งนี้เนื่องจาก สภาพภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และลักษณะนิสัย ของประชาชนในแต่ละท้องถิ่น มีความแตกต่างกัน เครื่อง

ดนตรีพื้นเมืองของไทย จำแนกตามภูมิภาคได้เป็น 3 ภูมิภาค คือ

เครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือ
เครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคใต้




เครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือ ได้แก่


ซึง เป็นเครื่องดีด มี 4 สาย สันนิษฐานว่า น่าจะดัดแปลงแก้ไขวิวัฒนาการมาจากพิณเทียะ ลักษณะของซึงตัวกะโหลก และคันทวนทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ประดู่ หรือ ไม้สักชิ้นเดียวกัน ชาวไทยภาคเหนือนิยมเล่นซึงกันมาช้านาน ตามปกติใช้เล่นร่วมกับปี่ซอ หรือพวกหนุ่ม ๆ ใช้ดีดเล่นขณะไป "แอ่วสาว


สะล้อ เป็นเครื่องสี ลักษณะคลายซออู้ แต่ทำไม่ค่อยประณีตนัก คันทวนยาวประมาณ 64 ซม. กะโหลกซอทำด้วยกะลามะพร้าว ใช้แผ่นไม้บาง ๆ ปิดหน้ากระโหลกแทนการใช้หนัง
ลูกบิดมี 2 อัน เจาะเสียบทแยงกัน มีสายเป็นสายลวดทั้ง 2 สาย คันชักแยกต่างหากจากตัวซอ สะล้อใช้เล่นผสมกับซึง และปี่ซอ ประกอบการขับร้องเพลงพื้นเมืองทางเหนือ


ตะโล้ดโป๊ด เป็นกลองขึ้นหนังสองหน้า มีรูปร่างลักษณะ และขนาดเช่นเดียวกับ "เปิงมาง" และ "สองหน้า" แต่ตัวกลองยาวกว่าเปิงมาง และสองหน้าตามลำดับ หน้ากลองข้างหนึ่งใหญ่ ข้างหนึ่งเล็ก ตีทางหน้าเล็ก กลองชนิดนี้ใช้ตีคู่กับกลองแอว์ในขบวนแห่ต่าง ๆ และใช้ตีประกอบการฟ้อน กับใช้ตีร่วมกับเครื่องดนตรีอื่น ๆ ในการเล่นเพลงพื้นเมืองภาคเหนือ


กลองแอว์ เป็นกลองขึ้นหนังหน้าเดียวเช่นเดียวกับกลองยาวของภาคกลาง แต่มีขนาดยาวและใหญ่กว่าหลายเท่า เหตุที่เรียกว่ากลองแอว์ ก็หมายความว่า กลองมีสะเอวนั่นเอง (แอว์คือเอว) ตัวกลองกว้างใหญ่ เอวคอด ตอนท้ายเรียว และปลายบานคล้ายดอกลำโพง กลองชนิดนี้มีประจำตามวัดต่าง ๆ ในภาคเหนือเกือบทุกวัด สำหรับใช้ตีเป็นสัญญาณประจำวัด นอกจากนี้ยังใช้ตีร่วมกับเครื่องดนตรีอื่น ๆ ประกอบการเล่นพื้นเมือง และใช้ตีเข้าขบวนแห่ในงานพิธี "ปอยหลวง" งานแห่ครัวทาน และงาน "ปอยลูกแก้ว" (บวชเณร)


ปี่ซอ ตัวปี่ทำด้วยไม้รวกปล้องยาว มีหลายขนาด ความยาวตั้งแต่ 45 - 80 ซม. สำรับหนึ่งมีจำนวน 3 เล่ม 5 เล่ม หรือ 7 เล่ม ปี่ซอถ้าใช้ 3 เล่ม มี 3 ขนาด เล่มเล็กเป็นปี่เอก เรียกว่า ปี่ต้อย เล่มกลางเรียกว่า ปี่กลาง และเล่มใหญ่เรียกว่า ปี่ใหญ่
ขึ้นไปข้างบน Go down
d@eng navy22
Moderator
Moderator



จำนวนข้อความ : 221
Registration date : 30/07/2008

เครื่องดนตรีไทย ประเภท เครื่องดนตรีไทยพื้นเมือง Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: พิณ โปงลาง เครื่องดนตรีไทย พื้นเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ   เครื่องดนตรีไทย ประเภท เครื่องดนตรีไทยพื้นเมือง Icon_minitimeThu Aug 28 2008, 22:17

พิณ โปงลาง เครื่องดนตรีไทย พื้นเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ลักณะการใช้ปี่ซอ

ใช้กับทำนองเพลงเชียงใหม่ มักมีซึงร่วมบรรเลงด้วย
ใช้กับทำนองเพลงเงี้ยว ตามปกติใช้ปี่เอก หรือปี่ต้อยอย่างเดียวเล่น ร่วมกับซึง หรือบางครั้งอาจใช้ปี่ทั้ง 3 เล่ม ล้วนก็ได้
ใช้กับเพลงจ๊อย ซึ่งเป็นเพลงรำพันรักของคนหนุ่มในขณะไปแอ่วสาว (เกี้ยวสาว) ในเวลาค่ำ โดยใช้ปี่เอกเป่าคลอกับการสีสะล้อ
ใช้กับทำนองเพระลอ คือ ใช้เป่าประกอบการขับเรื่องพระลอ
ใช้กับทำนองเพลงพม่าที่มีสร้องเพลงว่า "เซเลเมา"

เครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่
พิณ พิณพื้นเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น ซุง หมากจับปี่ หมากต้องโต่ง และหมากตับแต่ง มีสายตั้งแต่ 2 - 4 สาย ชนิดที่มี 4 สาย ก็คล้ายกับซึงของภาคเหนือ แต่ปลายกะโหลกพิณป้านกว่า พิณพื้นเมืองภาคนี้ ทำด้วยไม้เนื้อแข็งประดิษฐ์ขึ้นอย่างง่าย ๆ ไม่สู้จะประณีตนัก ใช่เล่นเดี่ยว หรือเล่นร่วมกับวงแคน และโปงลาง


โปงลาง เป็นเครื่องตี ทำด้วยไม้ร้อยต่อกันจำนวน 12 ท่อนด้วยเชือกเป็นผืน แต่ละท่อนมีขนาด และความยาวลดหลั่นกันตามลำดับ จากใหญ่ลงมาเล็ก เวลาเล่นใช้ด้านใหญ่ (ด้านบน) แขวนกับกิ่งไม้ หรือไม้ขาตั้ง ด้านเล็ก (ด้านล่าง) ใช้เท้าผู้เล่น หรือทำที่เกี่ยวยึดไว้ มักใช้ผู้เล่น 2 คน คนหนึ่งเล่นทำนองเพลงเรียก "หมอเคาะ" อีกคนหนึ่งทำหน้าที่เคาะประสานเสียงทำจังหวะเรียก "หมอเสิร์ฟ" โปงมีเสียง 5 เสียง คือ โด เร มี ซอล ลา ไม่มีเสียง ฟาและที


แคน เป็นเครื่องเป่า ทำด้วยไม้ซางขนาดต่าง ๆ นำมาเรียงลำดับผูกติดกันเป็น 2 แถว ๆ ละ 6 ลำบ้าง 7 ลำบ้าง หรือ 8 ลำบ้าง สุดแท้แต่ว่าจะเป็นแคนหก แคนเจ็ด หรือแคนแปด โดยเรียงลำใหญ่ไว้คู่หน้า และลำเล็ก ๆ เป็นคู่ถัดไปตามลำดับ และต้องเรียงให้กลางลำตรงที่ใส่ลิ้นอยู่ในระดับเดียวกัน แล้วเอาไม้จริงมาถากเจาะรูสำหรับเป่า (เรียกส่วนนี้ว่า "เต้า") เอาลำไม้ซางที่เรียงไว้สอดลงในเต้าให้พอดีกับตรงที่ใส่ลิ้นไว้ แล้วเอาชัน หรือขี้ผึ้งพอกกันลมรั่ว เหนือเต้าขึ้นไปประมาณ 4 - 5 ซม. เจาะรูด้านข้างของลำไม้ซางตั้งแต่คู่ที่ 2 เป็นต้นไป ลำละ 1 รู สำหรับนิ้วปิดเปิดเปลี่ยนเสียง ส่วนคู่แรก เจาะรูด้านหน้าเหนือเต้าขึ้นไปประมาณ 2 - 3 ซม. สำหรับนิ้วหัวแม่มือปิดเปิด การเป่าแคนต้องใช้ทั้งเป่าลมเข้า และดูดลมออก โดยเป่าตรงหัวเต้าด้านที่เจาะรูไว้ อาจกล่าวได้ว่า แคนเป็นเครื่องดนตรีสัญลักษณ์ของภาคอีสาน ประชาชนแถบนี้นิยมเป่าเล่นสืบต่อกันมาช้านาน ทั้งเล่นเดี่ยวคลอการร้อง และเล่นเป็นวงโดยผสมกับเครื่องดนตรีอื่น เช่น พิณ โปงลาง กลอง ฯลฯ ประกอบการแสดงพื้นบ้านภาคอีสานต่าง ๆ


โหวด เป็นเครื่องเป่าไม่มีลิ้น ตัวโหวดทำด้วยไม้ไผ่รวก (หรือไม้เฮี้ย) ลำเล็ก ๆ สั้นยาวต่างกัน จำนวน 6 - 9 ลำ มัดติดกับกระบอกไม้ไผ่ที่เป็นแกนกลาง โดยใช้ขี้สุดติด แต่ละลำจะมีระดับเสียงแตกต่างกันตามขนาดสั้น ยาว ตามปกติโหวดมีเสียง 5 เสียง แต่เดิมใช้เชือกผูกปลายด้านหนึ่ง แล้วเหวี่ยงหมุนกลับไปกลับมา ทำให้เกิดเสียงโหยหวล ต่อมาใช้ปากเป่าเล่นเพลงพื้นบ้าน เป็นที่นิยมกันทั่วไปในแถบภาคอีสาน
ขึ้นไปข้างบน Go down
d@eng navy22
Moderator
Moderator



จำนวนข้อความ : 221
Registration date : 30/07/2008

เครื่องดนตรีไทย ประเภท เครื่องดนตรีไทยพื้นเมือง Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: พิณไห ซอบั้ง เครื่องดนตรีไทย พื้นเมือง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ   เครื่องดนตรีไทย ประเภท เครื่องดนตรีไทยพื้นเมือง Icon_minitimeThu Aug 28 2008, 22:17

จ้องหน่อง หึน หรือหุน เป็นเครื่องดีด ทำด้วยไม้ไผ่เหลาบาง ๆ ยาว 12 - 15 ซม. กว้าง 11/2 ซม. หนา 1/2 ซม. ตรงกลางเซาะร่องเป็นลิ้นในตัว ปลายด้านหนึ่งสำหรับจับ อีกด้านหนึ่งใช้ดีดด้วยนิ้วหัวแม่มือ หรือนิ้วชี้ เวลาเล่นประกบลิ้นจ้องหน่องเข้ากับปาก โดยเฉพาะกระพุ้งแก้มใช้เป็นกล่องเสียง สามารถทำเสียงได้ 2 - 3 เสียงเท่านั้น ดีดเป็นทำนองได้เล็กน้อย เครื่องดนตรีชนิดนี้ใช้เล่นกันมาแต่โบราณ โดยมากใช้เล่นคนเดียวยามว่าง เป็นที่นิยมกันทางแถบอีกสานเหนือ


พิณไห เป็นเครื่องประกอบจังหวะ ทำด้วยไหซอง หรือไหกระเทียม ใช้ยางเส้นหนา ๆ ขึงที่ปากไห เวลาเล่นใช้มือดึงเส้นยางให้สั่นเกิดเสียงสูง - ต่ำ อย่างไรขึ้นอยู่กับขนาดของไห และการขึงเส้นยางให้ตึงหย่อนต่างกัน พิณไหใช้เล่นประกอบจังหวะในวงโปงลาง แคน พิณ ปกติชุดหนึ่งมี 2 - 3 ลูก หรืออาจมากกว่าก็ได้ โดยมากมักให้หญิงสาวแต่งตัวพื้นเมืองสวยงาม ยืนเล่นด้วยลีลาอ่อนช้อยตามจังหวะ เป็นที่สะดุดตาในวง


ซอกระดองเต่า หรือซอเขาควาย เป็นเครื่องสี กระโหลกซอทำด้วยกระดองเต่าตัดส่วนหน้าออก หรือทำด้วยเขาควายตัดขนาดตามต้องการ แล้วขึงด้วยหนังงู คันซอทำด้วยไม้เนื้อแข็งยาวประมาณ 40 ซม. มีลูกบิดสำหรับขึงสาย 2 อัน สายซอเป็นสายลวด คันชักอยู่ระหว่างสายซอทั้ง 2 สาย ซอชนิดนี้เป็นที่นิยมในแถบอีสานใต้ ชาวบ้านทำเล่นกันมานานแล้ว ใช้บรรเลงเยวในวงกันตรึม และบรรเลงเพลงพื้นบ้านอีสานใต้


ซอบั้ง เป็นซอของชาวภูไท ทำจากกระบอกไม้ไผ่ชนิดหนึ่ง (ชาวบ้านเรียกไม้โกะ) โดยใช้กระบอกไม้ไผ่ชิ้นเดียวกัน เป็นทั้งกะโหลกซอ และคันซอ ไปในตัว โดยช่างทำซอจะเหลากระบอกให้บาง ทำหน้าที่คล้ายหนังหุ้มกะโหลกซอ ซอบั้งมี 2 สาย เป็นสายลวด คันชักอยู่นอกสาย เวลาสีต้องสีให้ถูกสายทั้ง 2 สายตลอดเวลา เพื่อให้ได้เสียงที่เป็นทำนอง และเสียงประสานควบคู่กันไป ซอชนิดนี้นิยมใช้สีประสานเสียงกับเครื่องดนตรีอื่น ๆ ประกอบการฟ้อนภูไท


ซอปี๊บ เป็นซอ 2 สาย เป็นสายลวด กะโหลกทำจากปี๊บน้ำมันก๊าด หรือปี๊บขนม คันชักอาจจะอยู่ระหว่างสายทั้งสอง หรืออยู่ข้างนอกก็ได้ แต่ส่วนมากนิยมให้คันชักอยู่ข้างนอก ซอปี๊บใช้สีเดี่ยว หรือสีคลอเสียงหมอลำ


ซอกระป๋อง เป็นซอ 2 สายเช่นเดียวกับซอปี๊บ เพียงแต่กระโหลกทำด้วยกระป๋อง และคันชักอยู่ระหว่างสายทั้งสอง นิยมใช้สีประกอบการขับร้อง หรือสีเพลงลายพื้นเมืองของแคน
ขึ้นไปข้างบน Go down
d@eng navy22
Moderator
Moderator



จำนวนข้อความ : 221
Registration date : 30/07/2008

เครื่องดนตรีไทย ประเภท เครื่องดนตรีไทยพื้นเมือง Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: โทนชาตรี ปี่กาหลอ ปี่ไหน เครื่องดนตรีไทย พื้นเมืองภาคใต้   เครื่องดนตรีไทย ประเภท เครื่องดนตรีไทยพื้นเมือง Icon_minitimeThu Aug 28 2008, 22:19

โทนชาตรี ปี่กาหลอ ปี่ไหน เครื่องดนตรีไทย พื้นเมืองภาคใต้

เครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคใต้ ได้แก่

ทับ หรือ โทนชาตรี เป็นกลองชนิดหุ้มหนังหน้าเดียว หุ่นกลองนิยมใช้แก่นไม้ขนุนทำ หน้ากลองนิยมใช้หนังบาง ๆ เช่น หนังค่าง หรือหนังแมวขึงขึ้นหน้า โดยใช้เชือกหรือหวายผูกตรึงไว้กับหุ่น ทับใช้ตีให้จังหวะ ควบคุมกรเปลี่ยนจังหวะ เสริมลีลาท่าทางการแสดงละครชาตรี โนราและหนังตะลุง ตามปกติใช้ทับ 2 ลูก ตีประกอบกับกลองชาตรี ตำนานโนราเรียกทับลูกหนึ่งว่า "น้ำตาตก" และอีกลูกหนึ่งว่า "นกเขาขัน"



ปี่กาหลอ หรือ ปี่ห้อ เป็นเครื่องเป่าชนิดหนึ่ง เลาปี่ทำด้วยไม้ยาวประมาณ 13 นิ้ว มีรูบังคับเสียง 7 รู และด้านล่างมีรูนิ้วหัวแม่มือ 1 รู ลิ้นปี่ทำด้วยใบตาลมีบังลมทำด้วยไม้ หรือเปลือกหอยมุก ด้านล่างเป็นลำโพงปี่ทำด้วยไม้ปากบาน เพื่อขยายเสียง (เช่นเดียวกับปี่ชวา) นิยมใช้ลูกปัดสีต่าง ๆ ร้อยห้อยที่เลาปี่เพื่อตกแต่งด้วย ปี่กาหลอใช้เป่าบรรเลงในงานศพ หรืองานบวชที่ผู้บวชจะไม่สึก


ปี่ไหน เป็นเครื่องเป่าที่มีรูปร่างเหมือนปี่ใน หรือปี่นอกของภาคกลาง แต่เล็กกว่าปี่นอก ระดับเสียงสูงกว่า ปี่รูบังคับเสียง 6 รู ลิ้นทำด้วยใบตาลผูกติดกับท่อลมเล็ก ๆ (กำพวด) ปี่ไหนนิยมใช้เป่าประสมในวงดนตรีประกอบการแสดง โนราและหนังตะลุง

เครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคใต้ ได้แก่
กลองชาตรี หรือ กลองดตุ๊ก มีรูปร่างเช่นเดียวกับ "กลองทัด" แต่มีขนาดเล็กกว่าหลายเท่า มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10" - 12" สูงประมาณ 18 " หุ่นกลองนิยมใช้ไม้ขนุนทำ เพราะทำให้เสียงดังดี หน้ากลองขึงด้วยหนังวัว หรือหนังควาย โดยใช้หมุดไม้ (ชาวใต้เรียก "ลูกสัก") ตอกยึดไว้กับตัวหุ่น กลองชาตรีใช้ตีประกอบการแสดงละครชาตรี โนราและหนังตะลุง (โดยใช้เป็นจังหวะ เสริมลีลาท่าทางการแสดง) ตำนานโนราเรียกกลองชนิดนี้ว่า "กลองสุวรรณเภรีโลก" โนรารุ่นเก่าใช้ตีเวลาผ่านชุมชน หรือสถานที่ ๆ ควรเคารพบูชา ตีเป็นสัญญาณบอกคน หรือเรียกคนให้มาดูการแสดง




กราว หรือ กรับชัก ทำด้วยไม้เนื้อแข็งเหลาบาง ๆ กว้างประมาณ11/2 นิ้ว ยาวประมาณ 9 นิ้ว จำนวน 6 -10 อัน นำมาร้อยติดกันเป็นพวง (เช่นเดียวกับกรับพวง) โดยเจาะรูตรงกลาง สวมกับหลักซึ่งตรึงกับฐานไม้หนา ๆ อันบนสุดมีมือจับ กราวหรือกรับชัก นิยมใช้เล่นประกอบจังหวะการแสดงโนราอย่างเดียว เพราะเสียงดังหนักแน่นมาก


ฆ้องคู่ เป็นฆ้อง 2 ใบ ใบหนึ่งเสียงสูง อีกใบหนึ่งเสียงต่ำ แขวนขึงอยู่กับรางไม้รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า (สมัยโบราณใช้โหม่งฟาก ซึ่งทำด้วยแผ่นเหล็ก 2 อัน) ฆ้องคู่ใช้ตีประกอบการเล่นละครชาตรี โนราและหนังตะลุง โดยประสมกับกลองชาตรี ทับ ฉิ่ง และ ปี่
ขึ้นไปข้างบน Go down
 
เครื่องดนตรีไทย ประเภท เครื่องดนตรีไทยพื้นเมือง
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
(ย้ายแล้วจ้า ไปอยู่ที่) :: ห้องโถงพักผ่อน :: ห้องดนตรีและนาฏศิลป์-
ไปที่: